พม.จังหวัดอ่างทอง จัดประชุมอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ สรุปผลการดำเนินงานสถานการณ์ในจังหวัด


เมื่อวันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ 2565 เวลา 13.00 น

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอ่างทอง ได้จัดการประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดอ่างทองครั้งที่ 2/2566 วาระพิเศษ โดยมี นางสาวเอกรัตน์ นาคาคง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองเป็นประธาน เป็นการติดตามการทำงานด้านการค้ามนุษย์ในจังหวัดอ่างทอง และสรุปผลการดำเนินงาน กรณีนักเรียนร้อยกว่าคนไม่มีสัญชาติไทย ที่เป็นข่าวดังมาเรียนในโรงเรียนไทยรัฐวิทยาคม (ฉบับ ราษฎรอุปถัมภ์) ณ ห้องประชุมโพธิ์ทอง ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง




นางวาสนา ทองจันทร์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอ่างทอง เลขานุการคณะกรรมการการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดอ่างทอง ได้ชี้แจงในการประชุมว่า มีเข้ารูปมีผู้ร่วมเข้าประชุมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในจังหวัดอ่างทอง ประมาณ 30 ท่าน เป็นการประชุมคณะอนุกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดอ่างทอง ประจำปี 2566 เพื่อรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2566 (TIP REPORT 2023) และรายงานผลการดำเนินงานกรณีโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 (ฉบับ ราษฎรอุปถัมภ์) รับนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือสัญชาติไทยเข้ารับการศึกษา

 

จากการที่ นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.) ได้แถลงรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี พ.ศ. 2566 หรือ Trafficking In Person (TIP) Report 2023 ซึ่งสหรัฐอเมริกายังคงสถานะการจัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของไทยให้อยู่ในเทียร์ 2 “Tier 2″ เช่นเดียวกับปี พ.ศ. 2565 โดยที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนได้บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ของประเทศทั้งด้านนโยบาย การป้องกัน การดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย และการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วน รวมถึงการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นภารกิจหลักของกระทรวง พม. ส่งผลให้ การแก้ปัญหาเห็นผลในเชิงประจักษ์มากขึ้น ทั้งนี้ ผลการจัดอันดับของสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ เป็นเสียงสะท้อนหนึ่งที่กระตุ้นให้เรายังคงต้องเพิ่มความเข้มแข็งในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยเป้าหมายของรัฐบาลไทยคือการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกา ได้มี 12 ข้อเสนอแนะสำคัญ ดังนี้


1.การสืบสวนเชิงรุกและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการอำนวยความสะดวก ในการค้ามนุษย์ และแสวงหาบทลงโทษที่เหมาะสมสำหรับผู้ค้ามนุษย์ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิด ซึ่งรวมถึงการกำหนดอัตราโทษจำคุกอย่างมีนัยสำคัญ

2.เพิ่มความพยายามในการระบุและคุ้มครองผู้เสียหายจากค้ามนุษย์ที่ถูกแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน จากกระบวนการหลอกลวงทางไซเบอร์ที่เดินทางมาถึงประเทศไทย ยุติการส่งผู้เสียหายเข้าห้องกัก ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้เสียหายจะไม่ถูกลงโทษอย่างไม่เหมาะสม

3.ขับเคลื่อนกลไกการส่งต่อระดับชาติ (NRM) และระยะเวลาฟื้นฟูและไตร่ตรอง (Reflection Period) และเปิดใช้ศูนย์คัดแยกผู้เสียหายเต็มรูปแบบ

4.ใช้วิธีการที่เน้นผู้เสียหายเป็นศูนย์กลางและการคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจ โดยรวมถึงในระหว่างการสัมภาษณ์ของทีมสหวิชาชีพ และการตรวจแรงงาน

5.เพิ่มการปฏิบัติและความพร้อมของล่ามเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหาย รวมถึงในที่พักพิงและกระบวนการพิจารณาคดีในศาล

6.เพิ่มการจัดทำวีซ่าเพื่อให้ผู้เสียหายสามารถอยู่และทำงานในประเทศไทยได้หลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินคดีกับผู้ค้ามนุษย์

7.ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และรับรองการดำเนินการตามแนวทางการปฏิบัติตามมาตรา 6/1 ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และดำเนินการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ

8.เพิ่มความสามารถของผู้เสียหาย โดยเฉพาะผู้ใหญ่ ในการเข้าและออกจากสถานคุ้มครองได้อย่างอิสระ รวมถึงการใช้อุปกรณ์สื่อสาร และทบทวนการจัดให้ผู้เสียหายเดินทางเข้าออกและอยู่ในสถานคุ้มครอง เป็นระยะ เพื่อไม่ให้ผู้เสียหายอยู่ในที่สถานคุ้มครองนานเกินความจำเป็น

9.กำหนดให้สถานคุ้มครองของรัฐและนอกภาครัฐดูแลผู้เสียหาย โดยคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจและให้การดูแลผู้เสียหายเป็นรายบุคคลอย่างเพียงพอ เช่น การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการเยียวยา สภาพจิตใจ รวมทั้งดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกันในสถานคุ้มครองทุกแห่ง

10.ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการสืบสวนการละเมิดแรงงานและข้อร้องเรียนของแรงงานต่างด้าว ที่มีข้อบ่งชี้ การบังคับใช้แรงงานเพื่อระบุอาชญากรรมการค้ามนุษย์ รวมทั้งการบังคับใช้ขั้นตอนของเจ้าหน้าที่แรงงานในการส่งต่อกรณีที่อาจะเข้าข่ายการค้ามนุษย์ด้านแรงงานไปยังทีมสหวิชาชีพและเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้ กฎหมาย

11.เพิ่มความตระหนักแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับตัวชี้วัดการค้ามนุษย์ เช่น การบังคับให้ใช้หนี้ การทำงานล่วงเวลาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การยึดเอกสารสัญญา และการค้างจ่ายค่าจ้าง

12.ตรวจคัดกรองคนงานชาวเกาหลีเหนือเพื่อหาสัญญาณของการค้ามนุษย์ และส่งต่อพวกเขาไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบตามพันธกรณีภายใต้มติที่ 2397 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ


นางวาสนา ทองจันทร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานกรณีโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 (ฉบับ ราษฎรอุปถัมภ์) ที่มีข่าวเผยแพร่ทางสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมากรณีรับนักเรียนที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์หรือสัญชาติไทยเข้าการศึกษาเป็นจำนวนร้อยกว่าคนนั้น จังหวัดอ่างทองได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มิถุนายน 2566 ขอความอนุเคราะห์ให้ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มอบหมายผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำความผิด ที่อาจจะเข้าข่ายการค้ามนุษย์มาช่วยวินิจฉัยในกรณีดังกล่าว และได้ใช้ทีมสหวิชาชีพหรือกลไกของจังหวัดอ่างทองร่วมพิจารณากรณีดังกล่าว ว่าเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์หรือไม่ตามองค์ประกอบของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์


โดยแต่งตั้งคณะทำงานสหวิชาชีพป้องกันและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จังหวัดอ่างทอง มีปลัดจังหวัดอ่างทอง เป็นประธานคณะทำงาน และพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นคณะทำงานและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ดำเนินการเชิงรุกชี้ภาวะเสี่ยงซึ่งจะต้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดหรือตกเป็นเหยื่อจากการค้ามนุษย์โดยเร็วรับแจ้งเหตุสืบเสาะข้อเท็จจริงรวบรวมข้อมูลพยานหลักฐานและให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่วางแผนปรึกษาเตรียมความพร้อมก่อนหรืออาจตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ได้รับอันตรายวิชาชีพหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ดำเนินการทันทีดำเนินการซักถามข้อเท็จจริงเพื่อคัดแยกผู้ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์และรวบรวมสรุปข้อมูลให้เป็นระบบดำเนินการออกไปณจุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็วสรุปผลการปฏิบัติงานต่ออนุกรรมการ

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองในฐานะเจ้าภาพ และเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงได้ชี้แจงข้อเท็จจริงรายงานความเป็นมาให้อนุกรรมการได้ทราบว่า พบข้อสงสัยจำนวนเด็กจากการตกจากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบข้อสงสัยถึงจำนวนเด็กที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร์มีปริมาณมากผิดปกติ และได้หารือไปยังหน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐานขั้นพื้นฐาน ได้รับคำแนะนำว่าควรกำหนดให้มีการประชุมได้มีการกำหนดให้มีการประชุมหน่วยงานและบุคคลต่างๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบข้อมูลหรือหารือในประเด็นที่สำคัญดังนี้ บิดามารดาของเด็กอยู่ที่ใด เหตุใดจึงนำนักเรียนจำนวนมากเข้ามาศึกษาณโรงเรียนนี้ เด็กเดินทางเข้าเมืองถูกกฎหมายหรือไม่อย่างไร ในขณะศึกษาอยู่เด็กพักอาศัยอยู่ที่ใดอย่างไรและโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 ได้รับอนุญาตให้เป็นโรงเรียนพักนอนหรือไม่


และจากการระดมหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ลงพื้นที่ทำงาน สรุปได้ว่าเด็กส่วนใหญ่เดินทางข้ามมาจากฝั่งพม่าจะมาพักอยู่ที่โรงเรียนราษฎร์พัฒนา ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย และผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 เดินทางไปรับมา มีครูที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยาฯ เคยเป็นครูที่โรงเรียนราษฎร์พัฒนาและจะแนะนำให้เด็กเดินทางมาเรียนที่จังหวัดอ่างทอง เด็กบางคนเป็นนักเรียนของโรงเรียนราษฎรพัฒนาเดิมแต่ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยาฯ ผู้ปกครองพาข้ามมาจากประเทศพม่าเพื่อมาส่งขึ้นรถที่ประเทศไทย โดย ผอ. ผู้ใหญ่บ้าน ครู เป็นผู้รับต่อพานั่งรถบัสมาที่โรงเรียน เด็กติดต่อกลับครอบครัวเดิมได้ตลอดโดยใช้โทรศัพท์มือถือผ่าน Facebook เด็กบางคนไม่ทราบว่าต้องเดินทางมาไกลจึงอยากกลับบ้าน คิดถึงบ้าน และเด็กส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารยืนยันตัวตนเอกสารการขออนุญาตเข้าเมือง



ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเดินทาง หรือเหตุจูงใจคือ มีผู้แนะนำ ชักชวน เป็นทั้งญาติ คนรู้จัก เพื่อนบ้าน พี่น้อง เด็กนักเรียนเก่า ครู คนในหมู่บ้านเป็นทั้งคนในพื้นที่ประเทศไทยและประเทศพม่า เดินทางมาเรียนหนังสือ เพื่อเรียนภาษาไทย และต้องการมีงานทำเมื่อจบการศึกษาแล้ว ไม่มีการเสียค่าใช้จ่ายให้คนพามา เด็กสมัครใจมาเรียนหรือเชื่อฟังผู้ปกครองที่ต้องการ เด็กได้เรียนที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมีความสุขกับการเรียน มีการจัดที่พักอาศัย อาหาร 3 มื้อ และชุดนักเรียน ขณะเรียนสามารถติดต่อผู้ปกครองได้ ผ่าน Facebook หรือผู้ปกครองโทรมาเอง ไม่มีการทำร้ายร่างกายและจิตใจ ครอบครัวยากจนจึงอยากให้มาเรียนที่ประเทศไทย

คณะทำงานสหวิชาชีพป้องกันและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์จังหวัดอ่างทอง ได้มีมติเห็นชอบร่วมกันว่า ในกรณีโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 (ฉบับ ราษฎร์อุปถัมภ์) รับนักเรียนซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรเข้าเรียน ว่าจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏยังไม่เข้าองค์ประกอบของการค้ามนุษย์ เนื่องจาก ได้พิจารณาตามองค์ประกอบของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่จะต้องเข้าองค์ประกอบในส่วนการกระทำและวัตถุประสงค์แล้ว จะเห็นได้ว่ามีการกระทำ คือ การพามาจาก รับไว้ จัดที่อยู่อาศัย แต่ในส่วนขององค์ประกอบที่ 3 ยังไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตามองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ ที่จะต้องเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการค้าประเวณี การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะ คล้ายทาส การนำคนมาขอทาน การตัดอวัยวะเพื่อการค้า การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคลแต่อย่างใด กรณีนี้ จึงยังไม่เข้าข่ายตามองค์ประกอบความผิดฐานค้ามนุษย์ แต่อยู่ในขั้นตอนการผลักดันให้กลับประเทศต้นทางอย่างถูกต้องตามกฎหมาย สำหรับเด็กที่ตรวจสอบข้อมูลแล้วว่าไม่มีสัญชาติไทยจริง ๆ

ข้อมูลข่าวสรุปโดย
สำนักงานข่าวท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง (อ่างทองนิวส์)

ขอบคุณภาพจาก
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดอ่างทอง